วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผลการศึกษาเกี่ยวกับ e-Book

ความหมายของ e-Book ศึกษาจาก http://learner.in.th/blog/comed10/131954
พบว่าได้มีผู้ให้ความหมายของ e-Book ไว้มากมาย สามารถสรุปได้ดังนี้
อีบุ๊ค (eBook, EBook, e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง
หนังสือที่สร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการ ศึกษาจาก http://thaigoodview.com/node/186
หนังสือที่มีอยู่ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและความเปลี่ยนแปลงด้านอิเล็กทรอนิคส์ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้าช่วย จึงได้นหนังสือดังกล่าวมาคดลอก (scan) โดยที่หนังสือยังคงสภาพเดิมและได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ(text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพเป็นตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์และประมาลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (file) แทน ทั้งยังสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผล ข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เมื่ออินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัท ผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้

ความแตกต่างของ e-Book กับหนังสือทั่วไป ศึกษาจาก http://thaigoodview.com/node/186 และ http://www.bb.go.th/information/library/lbb/om/omweb/html/yiam/ext/lbr/nanasara.html
สามารถสรุปความแตกต่างของ e-Book กับหนังสือทั่วไปได้ดังนี้
1. รูปแบบของการสร้าง การผลิต เช่น
หนังสือทั่วไป e-Book
1.1 ใช้กระดาษ ไม่ใช้กระดาษ
1.2 มีข้อความและภาพประกอบธรรมดา สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
1.3 ไม่มีเสียงประกอบ สามรถใส่เสียงประกอบได้
1.4 แก้ไขและปรับปรุงข้อมูลได้ยาก สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update) ได้ง่าย
1.5 มีความสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (link) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
1.6 ต้นทุนในการผลิตสูง ต้นทุนในการผลิตต่ำ แต่ค่าเริ่มต้นในการผลิตสูง
1.7 มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่าย ไม่จำกัด

2. รูปแบบของการใช้งาน
หนังสือทั่วไป e-Book
2.1 เปิดอ่านจากเล่ม ไม่ต้องการอุปกรณ์ประกอบ ต้องอ่านด้วยโปรแกรมผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
ในการอ่าน
2.2 อ่านได้อย่างเดียว นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ (print) ได้
2.3 อ่านได้หนึ่งคนต่อหนึ่งเล่ม หนึ่งเล่มสามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก
(ออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต)
2.4 พกพาลำบาก ต้องใช้พื้นที่ในการพกพา พกพาสะดวก ได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของ
ไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
2.5 ต้องการแสงไฟในการอ่านในเวลากลางคืน สามารถอ่านในความมืดได้

ไม่มีความคิดเห็น: