วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้าง e-Book และโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e - Book

โครงสร้าง e-Book ศึกษาจาก http://thaigoodview.com/node/186
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และการใช้งาน
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย

1. หน้าปก (Front Cover)
2. คำนำ (Introduction)
3. สารบัญ (Contents)
4. สาระสำคัญของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents) ประกอบด้วย
- หน้าหนังสือ (Page Number)
- ข้อความ (Texts)
- ภาพประกอบ (Graphics) นามสกุลไฟล์คือ .jpg, .gif, .bmp, .png,

และ .tiff
- เสียง (Sounds) นามสกุลไฟล์คือ .mp3, .wav, และ .midi
- ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) นามสกุลไฟล์คือ .mpeg, .wav และ .avi
- จุดเชื่อมโยง (Links)
5. อ้างอิง (Reference)
6. ดัชนี (Index)
7. ปกหลัง (Back Cover)

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e - Book ศึกษาจาก http://thaigoodview.com/node/186

และ
http://eduparty.com/ebook
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
1. โปรแกรมชุด FlipAlbum
2. โปรแกรมชุด DeskTop Author
3. โปรแกรมชุด Flip Flash Album
ชุดโปรแกรมข้างต้น จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1. โปรแกรมชุด FlipAlbum ตัวอ่านคือ FlipViewer
2. โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
3. โปรแกรมชุด Flip Flash Album ตัวอ่านคือ Flash Player

ความต้องการของระบบและเตรียมความพร้อมก่อนสร้าง
ศึกษาจากบทความ ICT หัวข้อ e-Book ด้วย Flipalbum เขียนโดยบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
ความต้องการของระบบ
1. Windows®98 / NT4.0 / 2000 / ME / XP
2. IBM® PC compatible, Pentium® III or 4 processor หรือเทียบเท่า
3. 128 MB RAM
4. 126 MB free harddisk space
5. 16-bit color display adaptor
6. 800 × 600 pixels screen area
การเตรียมพร้อมก่อนสร้าง e-Book
ข้อมูลที่สามารถใส่ลงในโปรแกรม FlipAlbum ได้นั้น มีรูปแบบที่หลากหลายทั้งข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์วีดีโอ และไฟล์เสียง ควรจัดเตรียมข้อมูล ตกแต่งรูปภาพและอื่นๆ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน และจัดเก็บรวบรวมไว้ใน Folder ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สะดวกในการจัดทำข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น: